• Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่

CC-Link CLPA

CC-Link Partner Association
Thailand

แผงผังเว็บไซต์

เมนู

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • ข้อมูลติดต่อ

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • Network
    เครือข่ายแบบ Ethernet
    CC-Link IE TSN
    CC-Link IE Control Network
    CC-Link IE Field Network
    CC-Link IE Field Network Basic
    เครือข่ายแบบ Serial
    CC-Link
    CC-Link Safety
    CC-Link/LT
    โปรโตคอลทั่วไป
    SLMP
  • ฟังก์ชัน
    Safety
    Motion
  • โซลูชัน
    เครือข่ายไร้สาย
    Security
  • โปรไฟล์
    CSP+, CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์

  • ค้นหาตามหมวดหมู่หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อผลิตภัณฑ์หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อบริษัทหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ล่าสุดหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตาม SLMPหน้าต่างใหม่
  • Electronic Partner Product Catalog(Offline version)ZIP

การพัฒนา

  • กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ผังกระบวนการสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้ากันได้กับ CC-Link IE TSN
  • การทดสอบความสอดคล้อง
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบ
  • CC-Link IE TSN Contracted Development Manufacturer
    Coming soon
  • Introducing Development Toolหน้าต่างใหม่

เกี่ยวกับ CLPA

  • กิจกรรม
  • ประวัติ
  • องค์กร
  • การรับสมาชิก
  • Partnersหน้าต่างใหม่
  • มาตรฐานสากล
  • การเติบโตของ CLPA

close

CLOSE

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • ข้อมูลติดต่อ

CLOSE

  1. หน้าแรก
  2. เทคโนโลยีเครือข่าย
  3. บทความที่น่าสนใจ
  4. Industry 4.0 (Smart Factory) คืออะไร? แตกต่างจาก Industry 3.0 อย่างไร?

บทความที่น่าสนใจ

Industry 4.0 (Smart Factory) คืออะไร?
แตกต่างจาก Industry 3.0 อย่างไร?

ในปัจจุบันเราอยู่ในยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ซึ่งก่อนหน้านี้โลกของเราได้ผ่าน การปฏิวัติอุตสาหกรรมมาทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกัน ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 คือ การเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนและสัตว์ มาใช้พลังงานจากน้ำและไอน้ำ
  • ครั้งที่ 2 คือ การนำพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน และถ่านหินเข้ามาใช้ใน อุตสาหกรรม มีการนำสายพานเข้ามาใช้ และการผลิตครั้งละมากๆ หรือ Mass Production ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ด้วย
  • ครั้งที่ 3 คือ การนำเอาคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้งาน ส่งผลให้ยุคนี้เกิดระบบอัตโนมัติในโรงงานขึ้น (Manufacturing Automation)

  • เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายจนก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆในปัจจุบัน จนกลายมาเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์ถูกเชื่อมต่อกันทั้งหมดและสื่อสารกันเพื่อทำการตัดสินใจโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยมนุษย์ Industry 4.0 (หรือ Smart Factory) จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับ การใช้ชีวิตและการทำงาน และคาดว่าจะส่งผลกระทบทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ รอบตัวเราทั้งหมด ซึ่งจะ disrupt และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กับอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดทั่วโลกในทุกประเทศ

    องค์ประกอบที่สำคัญของ Industry 4.0

      องค์ประกอบที่สำคัญของ Industry 4.0 นั้นประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น

    • Cyber-physical systems คือ อุปกรณ์ที่ทำงานโดยใช้อัลกอริทึมของ คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน
    • Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หรือเซ็นเซอร์ บนเครือข่ายที่ฝังความสามารถในการตรวจจับ การสแกน และการตรวจสอบด้วยคอมพิวเตอร์ไว้บนอุปกรณ์
    • Cloud computing คือ การประมวลผล จัดเก็บข้อมูล และการใช้บริการอื่นๆ บนเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ต
    • Cognitive computing คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์

    • การนำเทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้นมาผสมผสานและประยุกต์ใช้งาน ทำให้แนวคิด Smart Factory สามารถใช้ได้จริงเพราะเครื่องจักรที่เราใช้ในอุตสาหกรรม(Industrial Machinery) มีความฉลาดขึ้น เนื่องจากเครื่องจักรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น โรงงานก็ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการสูญเสียได้มากขึ้นดังที่เราเห็นการนำพวกสมาร์ทเทคโนโลยี (Smart Technology) มาใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น การเชื่อมต่อเครื่องจักรทั้งหมดและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแบบ Real-time โดยอาศัยเทคโนโลยี Industrial Internet of Things (IIoT) พร้อมแสดงผลทั้ง production chain และทำการตัดสินใจโดยอัตโนมัติ หรือการที่เครื่องจักรสามารถเรียนรู้การทำงานที่ผิดพลาดและแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้เองโดยอาศัยข้อมูลที่เก็บได้ จากอุปกรณ์ในระบบ (Machine Learning) หรือเมื่อนำข้อมูลที่เก็บได้จากอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ มาทำการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ก็จะช่วยทำให้คาดการณ์ความผิดปกติบางอย่างที่อาจะเกิดขึ้นในกระบวนการหรือระบบ ทำให้สามารถดำเนินการล่วงหน้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินการเมื่อมีอุปกรณ์เสียหายหรือระบบพัง วิธีการนี้เรียกว่า Predictive Maintenance การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นไม่เพียงแต่ช่วยในด้านการบำรุงรักษาเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยพัฒนากระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการเชื่อมต่อเครื่องจักรต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการสร้างและแบ่งปันข้อมูลซึ่งเป็นพลังอำนาจที่แท้จริงของ Industry 4.0

      แม้ว่า Industry 3.0 จะเป็นยุคที่มีการก้าวกระโดดอย่างมาก เนื่องจากมีการนำคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติควบคุม (Manufacturing automation) มาใช้งานในอุตสาหกรรม และมีการใช้หุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการทำงานที่มนุษย์ทำมากขึ้น อีกทั้งยังเกิดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี เช่น PLC ที่ใช้เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ (Industrial Robots)หรือเครื่องจักร แต่การทำงานของหุ่นยนต์(Industrial Robot)หรือเครื่องจักรนั้นจะเป็นการทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์ป้อนให้ทำเท่านั้น ในยุคนี้เครื่องจักรจะยังไม่มีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเกี่ยวข้อง แนวคิด Smart Factory ในยุคนี้จึงยังถือว่าไม่สมบูรณ์ไปซะทีเดียว

      ความแตกต่างระหว่าง Industry 3.0 และ Industry 4.0

      แนวคิดเช่น Industry 4.0, Digitization และ Industrial IoT นั้นถูกจัดว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามก็มีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจว่าการปฏิวัติครั้งนี้มีความแตกต่างในทางปฏิบัติกับยุค Industry 3.0 (IT and automation) อย่างไร เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมต่อด้วย Ethernet, เซ็นเซอร์, ซอฟท์แวร์ที่ใช้แก้ปัญหา เช่น MES (Manufacturing Execution Systems) และ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition), และแม้กระทั่งการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตแล้วตั้งหลายปี รวมไปถึงเทคโนโลยี Cloud ที่มีการใช้งานโดยทั่วไปในระดับธุรกิจด้วย ในยุคของ Industry 4.0 นั้นมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การพิมพ์สามมิติ (3D Printing), Collaborative Robots หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า Cobot, Augmented Reality (AR), และ Virtual Reality (VR) นั้นเริ่มถูกนำมาใช้ในส่วนของการผลิตบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่มีผลกระทบมากที่สุดในการที่จะเป็น Smart Factory นั้นก็คือ IIoT, Cloud, และ Big Data Analytics โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคาดการณ์การผลิต ออกแบบผลิตภัณฑ์และโรงงาน ช่วยในด้านการบำรุงรักษา และยังช่วยจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อีกด้วย ถ้าจะพูดให้เห็นภาพ ทั้ง 3 เทคโนโลยีที่สำคัญต่อการเป็น Smart Factory นั้นมีบทบาทดังนี้

    • หน้าที่ของ Cloud ในการแก้ไขปัญหา


      ในอดีตการใช้งาน Cloud ยังไม่ถูกนำมาใช้โดยทั่วไปเหมือนทุกวันนี้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจำนวนมากถูกแชร์ระหว่างโรงงานหลายๆ โรงภายในบริษัท การลดระยะเวลาที่ใช้ในการส่ง-รับข้อมูล และเทคโนโลยีอื่นๆ (เช่น เทคโนโลยี Time Sensitive Networking หรือ TSN) จะช่วยให้การใช้งาน Cloud นั้นทำงานได้ดีขึ้นและหลากหลายมากขึ้น บางกิจการเริ่มมีการนำเสนอซอฟท์แวร์ที่ช่วยแก้ปัญหา (เช่น MES) ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้บน Cloud และในบางกรณีอาจจะสามารถควบคุมผ่าน Cloud ได้

    • หน้าที่ของการทำ Big Data Analytics ในการแก้ไขปัญหา


      จำนวนของข้อมูลที่ถูกบันทึกและจัดเก็บโดยผู้ผลิตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่มีการบันทึกข้อมูลเฉพาะส่วนที่สำคัญและจำเป็น ต่อมาผู้ผลิตก็อยากจะเก็บข้อมูลเป็นชุดๆ เพื่อทำการวิเคราห์ผลลัพธ์ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือจำนวนของข้อมูลที่จำเป็นต้องบันทึก และประมวลผลเพื่อสนับสนุนการทำ “Big Data Analytics” โดยการทำ Big Data Analytics ไม่เพียงต้องการการลงทุนเพิ่มเติมในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแอปพลิเคชันในการประมวลผลข้อมูลที่ต้องถูกอัพเกรดด้วย เพื่อรองรับกับความซับซ้อนและขนาดข้อมูลที่เพิ่ม ขึ้น

      การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากนั้นสำคัญมาก ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากจะช่วยให้ เกิดการพัฒนาอัลกอริทึมที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งสนับสนุนปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร และทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอุปกรณ์โดยรวม ช่วยเรื่องการทำ Predictive Maintenance ให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำ ช่วยด้านการจัดการพลังงาน และอื่นๆ

    • หน้าที่ของ IIoT เพื่อแก้ไขปัญหา


      แม้ว่าเครือข่ายที่ใช้ในโรงงานแบบ Ethernet จะมีให้ใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 แต่มีหลายผลิตภัณฑ์ (โดยเฉพาะอุปกรณ์ระดับ field) ที่ยังคงไม่ถูกเชื่อมกัน หรือมีการเชื่อมต่อด้วยการสื่อสารแบบทางเดียว แต่ด้วยเทคโนโลยี IIoT การเชื่อมต่อจะเป็นแบบสองทาง คือ จากตัวควบคุมไปยังอุปกรณ์ และจากอุปกรณ์ส่งกลับมายังตัวควบคุม (และในอนาคตจะถูกส่งต่อไปยัง Cloud) การที่ความฉลาดของอุปกรณ์มีมากขึ้นสนับสนุนให้ เกิดการกระจายอำนาจในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้
    • สรุป

      Industry 3.0 นั้นมีกระบวนการที่เป็นอัตโนมัติโดยใช้ตัวประมวลผลเชิงตรรกะ (Logic Processors) และข้อมูล ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำงานโดยปราศจากการแทรกแซงของมนุษย์ แต่ก็ยังต้องใช้มนุษย์ในการป้อนข้อมูลคำสั่งอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น ในยุคของ Industry 3.0 เครื่อง CNC แม้ว่าจะมีการทำงานแบบอัตโนมัติ แต่ก็ต้องอาศัยชุดคำสั่งจากคน ที่ตั้งค่าป้อนเข้าไปเพื่อให้เครื่องทำงาน แต่ถ้าเป็น Industry 4.0 การทำงานของเครื่อง CNC จะไม่ได้ทำงานเพียงแค่ทำตามชุดคำสั่งที่คนป้อนเข้าไปเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีการบันทึกข้อมูล และนำข้อมูลที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงการทำงานแบบอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์ และมีการคาดการณ์เพื่อการบำรุงรักษา ซึ่งการจะเป็น Industry 4.0 จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเราไม่ได้เชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นเครือข่ายจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างสำคัญ เพราะไม่ว่าจะเป็น IIoT, การทำ Big Data Analytics, การใช้เทคโนโลยี Cloud, รวมไปถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น การทำ Predictive Maintenance ต่างก็ต้องใช้การส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น Real-time ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ในปริมาณที่มากเพียงพอต่อการใช้งาน มีความเสถียรในการใช้งานสูง สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และโปรโตคอลที่หลากหลายได้ ซึ่งมาตรฐาน Time Sensitive Networking หรือ TSN นั้นจะช่วยตอบโจทย์ทางด้านการใช้งานเครือข่ายสำหรับ Industry 4.0 ได้

      References:

      https://www.bernardmarr.com/default.asp?contentID=1545
      https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2018/09/02/what-is-industry-4-0-heres-a-super-easy-explanation-for-anyone/#691f7cbb9788
      https://www.quora.com/What-is-the-main-difference-between-Industry-3-0-and-Industry-4-0
      https://www.coilwindingexpo.com/berlin/knowledge-hub/industry-30-to-industry-40-whats-the-difference
      https://www.onupkeep.com/answers/predictive-maintenance/industry-3-0-vs-industry-4-0
บทความก่อนหน้า หน้าหลักบทความ บทความถัดไป

บทความแนะนำ

«
Industrial Networking คืออะไร และแตกต่างกับที่ใช้งานทั่วไปอย่างไร ?
ทำความรู้จักกับ 1st Gen ของ CC-Link ได้แก่ CC-Link, CC-Link LT และ CC-Link Safety
Industrial Networking มีบทบาทอย่างไรในการเป็น Smart Factory ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
Preventive Maintenance VS. Predictive Maintenance
5 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Industrial Internet of Things (IIoT)
5 ข้อดีของเครือข่าย CC-Link IE TSN ที่ช่วยให้ใช้งาน IIoT ได้ง่ายยิ่งขึ้น
สายใยแก้ว อีกหนึ่งตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานในโรงงาน
Network Topology คืออะไร มาไขข้อข้องใจ ไม่ยากอย่างที่กลัว
Factory Automation คืออะไร ทำไมโรงงานอัตโนมัติถึงสำคัญ
Smart Factory คือ? มายกระดับโรงงานอุตสาหกรรมด้วย Industrial IoT
»

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • เครือข่าย

    • Ethernet based network

      • CC-Link IE TSN
      • CC-Link IE Control Network
      • CC-Link IE Field Network
      • CC-Link IE Field Network Basic
    • Serial based network

      • CC-Link
      • CC-Link Safety
      • CC-Link L/T
    • Common Protocol

      • SLMP
  • ฟังก์ชัน

    • Safety Communication
    • Motion Control
  • โซลูชัน

    • เครือข่ายไร้สาย
    • Security
  • โปรไฟล์

    • CSP+/CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน
  • บทความที่น่าสนใจ
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • ดาวน์โหลด
  • ข้อมูลติดต่อ
เว็บไซต์สมาชิก
CC-Link Partner
Association (CLPA)
CC-Link CLPA

เข้าสู่ระบบหน้าต่างใหม่

  • Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่
  • Site Map
  • เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
© CC-Link Partner Association

ไปที่บนสุดของหน้า