• Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่

CC-Link CLPA

CC-Link Partner Association
Thailand

แผงผังเว็บไซต์

เมนู

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • ข้อมูลติดต่อ

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • Network
    เครือข่ายแบบ Ethernet
    CC-Link IE TSN
    CC-Link IE Control Network
    CC-Link IE Field Network
    CC-Link IE Field Network Basic
    เครือข่ายแบบ Serial
    CC-Link
    CC-Link Safety
    CC-Link/LT
    โปรโตคอลทั่วไป
    SLMP
  • ฟังก์ชัน
    Safety
    Motion
  • โซลูชัน
    เครือข่ายไร้สาย
    Security
  • โปรไฟล์
    CSP+, CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์

  • ค้นหาตามหมวดหมู่หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อผลิตภัณฑ์หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อบริษัทหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ล่าสุดหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตาม SLMPหน้าต่างใหม่
  • Electronic Partner Product Catalog(Offline version)ZIP

การพัฒนา

  • กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ผังกระบวนการสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้ากันได้กับ CC-Link IE TSN
  • การทดสอบความสอดคล้อง
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบ
  • CC-Link IE TSN Contracted Development Manufacturer
    Coming soon
  • Introducing Development Toolหน้าต่างใหม่

เกี่ยวกับ CLPA

  • กิจกรรม
  • ประวัติ
  • องค์กร
  • การรับสมาชิก
  • Partnersหน้าต่างใหม่
  • มาตรฐานสากล
  • การเติบโตของ CLPA

close

CLOSE

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • ข้อมูลติดต่อ

CLOSE

  1. หน้าแรก
  2. เทคโนโลยีเครือข่าย
  3. บทความที่น่าสนใจ
  4. 5 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Industrial Internet of Things (IIoT)

บทความที่น่าสนใจ

5 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Industrial Internet of Things (IIoT)

IIoT เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดจาก Digital Transformation แม้ว่าบางองค์กรไม่ได้ตระหนักถึงความสามารถที่แท้จริงของ IIoT และยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากการใช้ IIoT ได้อย่างไร แต่ด้วยกระแสของ Digital Transformation ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรมและทุกธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิต ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตแต่ละขั้นตอนสามารถเข้าถึงเพื่อใช้งานและสามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากทุกที่และทุกอุปกรณ์ โดยมี IIoT เป็นส่วนสำคัญ

อย่างไรก็ตามหลายท่านอาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ IIoT อยู่มากมายที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนำเอา IIoT มาใช้ในการดำเนิน งานด้านการผลิต ในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ 5 สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ IIoT พร้อมข้อเท็จจริง

ความเข้าใจผิดที่ 1 : IIoT ไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

ความเป็นจริง : IIoT เหมาะกับองค์กรทุกขนาด

หลายองค์กรคิดว่า IIoT นั้นเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วองค์กรทุกขนาดสามารถนำเอา IIoT มาประยุกต์ใช้ งานได้ เนื่องจากการพัฒนาล่าสุดใน IIoT ทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นและช่วยลดต้นทุนได้ โดยในปัจจุบันมี Software เกี่ยวกับ IIoT ที่เป็น ลักษณะ Open-source ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ใช้ประโยชน์จาก IIoT ในการผลิตได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ รองรับ IIoT ที่ครอบคลุมหรือใช้ทีมไอทีและวิศวกรจำนวนมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้งาน IIoT มีมากกว่าความกังวลด้านค่าใช้จ่าย หรือเวลา

ความเข้าใจผิดที่ 2 : การใช้งาน IIoT นั้นไม่ปลอดภัย

ความเป็นจริง : การใช้งาน IIoT มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยรองรับ

หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับผู้ผลิตเกี่ยวกับการใช้งาน IIoT คือ รู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัย ในความเป็นจริงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ให้สื่อสารผ่าน Cloud ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายในการรักษาความปลอดภัยจริงๆ นั่นแหละ แต่ในปัจจุบันมีมาตรฐานและมีการตระหนักด้านความปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ IIoT มีความปลอดภัยเท่ากับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอื่นๆ แม้ว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาจเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอินเตอร์เน็ต แต่มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้งานจะช่วยลดภัยคุกคามและเพิ่มมูลค่าระยะยาวให้กับโครงสร้างพื้นฐานของการทำ IIoT ได้

ความเข้าใจผิดที่ 3 : ไม่จำเป็นต้องใช้ IIoT เพราะเกินจำเป็น

ความเป็นจริง : การใช้งาน IIoT จะทำให้ธุรกิจของคุณได้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและเพิ่มสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้

“เราคงไม่ได้ใช้ข้อมูลจำนวนมากจากการใช้ IIoT หรอก” ด้วยความคิดนี้จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่าการใช้งาน IIoT นั้นไม่จำเป็น และเกินจำเป็น แต่ในอนาคตมูลค่าทางธุรกิจจะเพิ่มขึ้นได้ด้วยการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนั้นมันก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ธุรกิจของคุณมี การเติบโตมากขึ้น ข้อมูลที่ไม่ได้เคยใช้ประโยชน์ใดๆ ก็อาจกลายเป็นสิ่งที่มีค่าได้ และการนำ IIoT มาใช้งานไม่เพียงแต่จะเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังช่วย ให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain), ช่วยสร้างแหล่งรายได้ใหม่, อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และยืดระยะเวลาในการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกด้วย

ความเข้าใจผิดที่ 4 : การใช้งาน IIoT เป็นแค่การเชื่อมต่อ Sensor เข้ากับอุปกรณ์

ความเป็นจริง : การใช้งาน IIoT เป็นการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจเพื่อช่วยทำให้ทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น

การนำ IIoT มาใช้งานก็เป็นการนำอุปกรณ์และเครื่องจักรมาเชื่อมต่อกับ Sensor จริงๆ นั่นแหละ แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้น นอกเหนือจากการ นำอุปกรณ์ทางกายภาพที่เป็นชิ้นๆ มาเชื่อมต่อกันแล้ว IIoT ยังเกี่ยวข้องกับเครือข่ายเช่น Cloud, Gateway, API, และอื่นๆ ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงเป็นพื้นฐานของ IIoT แต่ใจความสำคัญหลักของการนำ IIoT มาใช้งานคือ การสร้างข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก แบบเรียลไทม์เพื่อช่วยในการดำเนินการและการตัดสินใจ เมื่ออุปกรณ์ถูกเชื่อมต่อบนเครือข่ายเพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ ผู้ผลิตสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ ป้องกันความล้มเหลวในการทำงาน และเพิ่มเวลาการทำงานของระบบให้ดีขึ้น

ความเข้าใจผิดที่ 5 : การใช้งาน IIoT ใช้ต้นทุนสูง

ความเป็นจริง : ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง IIoT ลดลงและช่วยในการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ในระยะยาว

การทำ IIoT นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นหนึ่งในความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในวงกว้าง จริงอยู่ที่การลงทุนในการใช้งาน IIoT ต้องใช้เงินทุน หลายองค์กรมองเพียงแต่ด้านต้นทุนที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้มองผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ IIoT เมื่อมีการนำ IIoT มาใช้งานแล้ว ข้อมูลเชิงลึกใน การดำเนินการที่รวบรวมได้จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลที่ได้คือ ค่าใช้จ่ายน้อยลงและการเติบโตมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลกำไร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์กรจำเป็นต้องลดต้นทุนลงโดยที่ยังคงคุณภาพที่ส่งมอบให้ลูกค้าไว้ก็คือ การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย ทำให้มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งาน โดยมีการนำข้อมูลเชิงลึกแบบ Real-time มาใช้งาน และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิต ส่งผลให้โรงงานที่เชื่อมต่อกับ IIoT มีศักยภาพเพิ่มขึ้นหลายเท่า ดังนั้นคุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าองค์กรของคุณไม่ได้ล้าหลังใน Digital Transformation เนื่องจากความเข้าใจผิดอย่างเกี่ยวกับ IIoT

ประโยชน์จากการนำ IIoT มาใช้งานด้านการผลิต

IIoT มีส่วนช่วยในการผลิต ตั้งแต่การลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การช่วยด้านการบำรุงรักษา ตลอดจนการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ในทความนี้จะมีการยกตัวอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น

ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

หนึ่งในวิธีหลักที่เทคโนโลยี IIoT สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการผลิตก็คือ ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นและรวบรวมได้จำนวนมากขึ้น โดยส่วนมากความผิดปกติของอุปกรณ์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยี IIoT มาใช้งานเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานและทราบถึงสภาพการทำงานของอุปกรณ์ได้ ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงสามารถส่งโดยตรงไปยังห้องควบคุมหรือพื้นที่ที่ต้องการได้ แบบ Real-time แทนที่จะต้องเก็บข้อมูลและป้อนข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ AI สามารถแจ้งเตือนให้พนักงานทราบถึงปัญหาได้ในทันที อีกทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นระยะเวลานานทำให้สามารถตรวจพบสภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานได้

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพของคลังสินค้า

IIoT สามารถช่วยในการบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับคลังสินค้าได้โดยการติดตามสถานะการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถมองภาพรวม ในการทำงานได้ตลอดกระบวนการ IIoT ช่วยให้สามารถนับจำนวนในการใช้และจำนวนคงเหลือของวัตถุดิบและอะไหล่ได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกัน การขาดแคลนสต็อกและช่วยลดความผิดพลาดในการบริหารจัดการคลังสินค้า เมื่อวัตถุดิบหรือสินค้าในคลังใกล้หมด sensor ก็จะส่งการแจ้งเตือนเพื่อให้ ผู้ที่รับผิดชอบรับทราบ โดยสามารถติดตามผลและควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกลได้

ช่วยลดต้นทุน

การลดต้นทุนในการผลิตนั้นมีหลายวิธี หนึ่งในวิธีนั้นคือการนำเทคโนโลยี IIoT มาใช้งาน แม้ว่าการนำเอาเทคโนโลยี IIoT มาใช้งานนั้นจะมีต้นทุนสูง แต่วิธีนี้เป็นการลงทุนเพื่อลดต้นทุนในระยะยาว โดยสามารถลดต้นทุนเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่เกิดจากค่าอะไหล่หรือค่าแรง เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลสถานะการทำงานจริงของเครื่องจักรเพื่อคาดการณ์อายุการใช้งานคงเหลือของอุปกรณ์แต่ละชิ้นแบบ Real-time ทำให้ไม่จำเป็นจะต้องซ่อมบำรุงก่อนล่วงหน้าเพื่อป้องกันปัญหา และไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนไปเดินจดเพื่อติดตามสถานะการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการหยุดเครื่องจักรได้อีกด้วยเพราะการบำรุงรักษานั้นอิงจากสภาพอุปกรณ์จริงจึงไม่ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษาบ่อยเกินจำเป็น หรือต้องเปลี่ยนอะไหล่ก่อนกำหนด ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้คุ้มค่ามากขึ้นอีกด้วย

ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

การทำ IIoT นั้นคือการบริหารจัดการกับข้อมูล ดังนั้นเมื่อมีการนำข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์ทำให้องค์กรรู้จักลูกค้าได้ดีขึ้นและสามารถปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อที่จะสามารถให้บริการได้ดียิ่งขึ้น เช่น กระบวนการด้านโลจิสติกส์ อีกทั้งการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าดีขึ้น

References:

https://www.iotforall.com/5-misconceptions-facts-iot-manufacturing.html
https://www.iotforall.com/9-reasons-why-you-should-embrace-iiot.html
https://www.iotforall.com/iot-applications-manufacturing.html
บทความก่อนหน้า หน้าหลักบทความ บทความถัดไป

บทความแนะนำ

«
Industrial Networking คืออะไร และแตกต่างกับที่ใช้งานทั่วไปอย่างไร ?
ทำความรู้จักกับ 1st Gen ของ CC-Link ได้แก่ CC-Link, CC-Link LT และ CC-Link Safety
Industry 4.0 (Smart Factory) คืออะไร? แตกต่างจาก Industry 3.0 อย่างไร?
Industrial Networking มีบทบาทอย่างไรในการเป็น Smart Factory ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
Preventive Maintenance VS. Predictive Maintenance
5 ข้อดีของเครือข่าย CC-Link IE TSN ที่ช่วยให้ใช้งาน IIoT ได้ง่ายยิ่งขึ้น
สายใยแก้ว อีกหนึ่งตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานในโรงงาน
Network Topology คืออะไร มาไขข้อข้องใจ ไม่ยากอย่างที่กลัว
Factory Automation คืออะไร ทำไมโรงงานอัตโนมัติถึงสำคัญ
Smart Factory คือ? มายกระดับโรงงานอุตสาหกรรมด้วย Industrial IoT
»

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • เครือข่าย

    • Ethernet based network

      • CC-Link IE TSN
      • CC-Link IE Control Network
      • CC-Link IE Field Network
      • CC-Link IE Field Network Basic
    • Serial based network

      • CC-Link
      • CC-Link Safety
      • CC-Link L/T
    • Common Protocol

      • SLMP
  • ฟังก์ชัน

    • Safety Communication
    • Motion Control
  • โซลูชัน

    • เครือข่ายไร้สาย
    • Security
  • โปรไฟล์

    • CSP+/CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน
  • บทความที่น่าสนใจ
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • ดาวน์โหลด
  • ข้อมูลติดต่อ
เว็บไซต์สมาชิก
CC-Link Partner
Association (CLPA)
CC-Link CLPA

เข้าสู่ระบบหน้าต่างใหม่

  • Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่
  • Site Map
  • เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
© CC-Link Partner Association

ไปที่บนสุดของหน้า