Industrial Networking มีบทบาทอย่างไรในการเป็น Smart Factory ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่

หลายท่านอาจยังไม่เข้าใจว่าระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม (Industrial Networking) อย่าง CC-Link และ CC-Link IE นั้นมี บทบาทสำคัญอย่างไรในการก้าวเข้าสู่ยุค Smart Factory หรือ Industry 4.0 บทความนี้จะทำให้ท่านได้เข้าใจบทบาทและความสำคัญ ของระบบเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Disruption
Smart Factory เป็นคำจำกัดความในภาพรวม ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องทำอะไร และใช้เทคโนโลยีใดมาประยุกต์ใช้งาน ซึ่งท่านนั่น แหละจะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุดว่ากระบวนการทำงานของท่านจะหยิบนำเอาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีรูปแบบไหนมาปรับใช้ให้เหมาะสมที่สุดโดยไม่ทำเป็นต้องลงทุนในสิ่งที่ ไม่จำเป็นหรือไม่คุ้มค่า (ROI)
โดยเราจะขอยกตัวอย่างระบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ยากเกินไป และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง เพื่อเป็นแนวคิดให้ท่านผู้อ่านได้นำเอาไป ปรับใช้กันนะครับ
Predictive Maintenance หรืออาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Condition based Maintenance ที่ช่วย ลดต้นทุนและลด Downtime ของเครื่องจักร เนื่องจากมีการนำข้อมูลสถานะการทำงานของเครื่องจักรมาวิเคราะห์และคาดการณ์ว่าอุปกรณ์จะเสียในช่วงไหน ซึ่งเป็น การพัฒนามาจากระบบเก่าที่ใช้แบบ Preventive Maintenance หรือ Time-based Maintenance ที่จะทำ การบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้
Machine learning ที่จะมาพร้อมกับ AI ในอุปกรณ์ ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักร ช่วยในเรื่องของการ Tuning Machine เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าอุปกรณ์ทั้งหมดไม่ได้มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ตรงนี้เองที่ CC-Link และ CC-Link IE เข้ามามีบทบาท และเป็นพื้นฐานของการเป็น Smart Factory
Real-Time Monitoring ที่จะทำให้ท่านเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการบันทึก แสดงผล วิเคราะห์ วางแผนในการผลิต โดยลดผลกระทบ จากการที่ใช้มนุษย์ในการเก็บข้อมูล และ Real-Time Analyzer ซึ่งเป็นการนำข้อมูลที่เก็บมาได้มาวิเคราะห์กระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบ การใช้พลังงาน คุณภาพสินค้า โดยใช้ AI หรือ Software เฉพาะทางเข้ามาร่วมด้วย
แล้วเครือข่าย CC-Link และ CC-Link IE เข้ามาช่วยทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร? เรามาดูกันครับ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน

การที่จะเป็น Smart Factory ได้นั้น ขั้นตอนแรกคือ จะต้องทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อให้เครื่องจักรสามารถสื่อสารกัน เองและส่งข้อมูลระหว่างกัน และทำงานสอดคล้องกันได้ สิ่งนี้เรียกว่า Machine to Machine Communication นั่นก็หมายความว่า เครื่องจักรและอุ ปกรณ์เหล่านั้นจะต้องถูกเชื่อมต่อไว้บนเครือข่ายเดียวกันถึงจะพูดคุยกันได้ ซึ่งเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อนี้เองก็คือ CC-Link และ CC-Link IE
ส่งข้อมูลจำนวนมากได้ในคราวเดียว

ต่อมาเมื่ออุปกรณ์และเครื่องจักรมีการพูดคุยกัน ทำงานร่วมกัน เราก็จะทำการรวบรวมข้อมูลทั้งสถานะการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละอุปกรณ์ มารวมไว้ในที่เดียว โดยอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูงและมี Bandwidth ที่กว้าง ยิ่งค่า Bandwidth มากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลได้คราว ละมากๆ ได้มากขึ้นเท่านั้นโดยเฉพาะ Real-Time Data ที่ทำให้เราสามารถทราบถึงสถานะการทำงานในปัจจุบันของอุปกรณ์และเครื่องจักรทุกชิ้นได้ และยัง ช่วยทำให้เราสามารถติดตามสถานะการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรได้ว่าการทำงานนั้นใช้พลังงานเท่าไหร่ การทำงานเป็นปกติหรือไม่ ในการผลิตมีของเสียคิดเป็น ร้อยละเท่าไร ซึ่งแต่ถ้าไม่มีการเชื่อมต่อเครื่องจักรเข้าด้วยกันและรวบรวมข้อมูล การจะทราบถึงสถานะในปัจจุบันของอุปกรณ์และเครื่องจักรนั้นจะต้องใช้คนในการเดินดู ตรวจสอบ ทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นเกิดความคลาดเคลื่อนเนื่องจากเวลาในการเข้าถึงอุปกรณ์และเครื่องจักรนั้นมีความแตกต่างกัน ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะ ท่าน จะต้องมีความเข้าใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรมาใช้งาน
การเชื่อมต่อเป็นแบบ Real-time

เมื่อข้อมูลถูกนำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกันแล้ว เราก็จะนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากในแต่ละอุปกรณ์มาทำการแสดงผล โดยการนำข้อมูลมาแสดงผลนั้นผู้ใช้งานสา มารถเลือกได้ว่าจะนำข้อมูลอะไรมาแสดงผล เช่น จำนวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละเครื่องจักรต่อหนึ่งกะ ประสิทธิภาพในการผลิตในภาพรวม หรือจำนวนพลังงานที่ ใช้โดยรวมทั้งโรงงานและแยกตามรายเครื่องจักร เป็นต้น หรืออาจนำ AI และ Software เฉพาะทางมาใช้งาน เพื่อช่วยในการกรองข้อมูลให้เหลือแค่ข้อมูลที่จำเป็น หรือใช้ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้เพื่อนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพและกระบวนการในการผลิตได้อีกด้วย สุดท้ายแล้วคุณค่าจากการนำ ข้อมูลมาใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน เพราะเครื่องมือที่เป็น Software นั้นไม่สามารถตีความ หรือวิเคราะห์ข้อมูลได้ แต่คนที่มีความเชี่ยวชาญสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและแก้ไขปัญหาได้
ดังนั้นการมีเครือข่ายประสิทธิภาพสูงถือว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญในการเป็น Smart Factory เพราะเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะรองรับ การเชื่อมต่อที่หลากหลาย สามารถรับ-ส่งข้อมูลในปริมาณมากได้ด้วยความเสถียรและมีการเชื่อมต่อที่เป็นแบบ Real-time ทำให้สามารถแสดง ผลข้อมูลเพื่อตรวจสอบและติดตามการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรได้ มีการแจ้งเตือนเมื่อการเชื่อมต่อขัดข้องที่สามารถระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาที่เครื่องจักรหรืออุปกรณ์หยุดทำงาน มีการบันทึกเหตุการณ์พร้อมทั้งบันทึกเวลาที่เกิดขึ้นอย่างแม่นยำอีกด้วย
บทความแนะนำ
- เว็บไซต์สมาชิก
CC-Link Partner
Association (CLPA)