สาย LAN มีกี่ประเภท ?
การสื่อสารเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจกันในสังคม วิธีการสื่อสารมีหลากหลายประเภท หนึ่งในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับผู้คนวัยทำงาน คงหนีไม่พ้นกับการสื่อสารระดับองค์กร ที่มีทั้งมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับเครื่องจักร หรือแม้แต่เครื่องจักรกับเครื่องจักรก็จำเป็นต้องมีการสื่อสารกัน แต่จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ตัวกลางที่จะช่วยรับ-ส่งสัญญาณ อย่างสายใยแก้ว หรือสายแลน เพื่อมาเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยให้การสื่อสารนี้ลุล่วง บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักแบบเจาะลึกกับ สายแลนมีกี่ประเภท เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด
สาย LAN คืออะไร?
สาย Ethernet Cable หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากสายแลน (LAN) มีที่มาจาก Local Area Network ซึ่งคือการเชื่อมต่อกันของระบบคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ผ่านอุปกรณ์ตัวกลาง แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเติบโต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบที่พัฒนาไปอย่างมาก ทำให้สาย LAN ที่เคยใช้เชื่อมต่อแค่ระยะใกล้สามารถเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระยะไกลได้มากขึ้น และยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อได้ใน Scale ที่ใหญ่ขึ้นอีกด้วย
สาย LAN มีกี่ประเภท?
สายแลนนั้นมีหลากหลายประเภท และให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป หากต้องการใช้สายแลน ควรเข้าใจลักษณะของสายแลน เพื่อที่จะได้เลือกใช้ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด ไปดูกันว่าสายแลนมีกี่ประเภท ซึ่งประเภทของสายแลนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะงานได้ ดังนี้
แบ่งตามการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร
สายแลนที่ใช้สำหรับภายใน และภายนอกอาคารนั้นเหมือนกันตรงที่มีความสามารถในการส่งสัญญาณ แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในส่วนสายหุ้มฉนวนด้านนอก เพราะสายแลนที่ใช้สำหรับภายนอกอาคารจะมีที่หุ้มของฉนวนที่ทำมาจาก PE (Polyethylene) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความหนา และแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อสภาพอากาศ ตรงกันข้ามกับสายแลนภายในอาคาร ที่จะหุ้มเพียงแค่ที่หุ้มฉนวนแบบบาง เพื่อให้สามารถหักงอเข้ากับมุมโต๊ะ หรือห้องได้ดี ที่สำคัญยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการลามไฟอีกด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานที่ด้วย
แบ่งตามลักษณะการหุ้มฉนวน
หากแบ่งสายแลนตามลักษณะการหุ้มของฉนวนจะสังเกตเห็นว่าจะมีทั้งสายแลนที่มีฉนวนอย่างเดียว สายแลนที่มีฟลอยด์หุ้มฉนวน และแบบที่มีฟลอยด์หุ้มฉนวนเฉพาะด้านนอกเท่านั้น ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับสายแลนที่มีฟลอยด์หุ้มฉนวนทั้งหมด และแบบหุ้มเฉพาะด้านนอกนั้นนิยมใช้สำหรับป้องกันความร้อน ส่วนสายแลนแบบที่มีฉนวนอย่างเดียวนั้นเป็นสายแลนที่ใช้ในงานทั่วไป
แบ่งตามคุณภาพความถี่ที่รองรับ
การแบ่งสายแลนยังสามารถแบ่งได้ตาม Category ของสายแลนได้อีกด้วย หรือจะเขียนได้อย่างสั้นๆ เป็น CAT ซึ่งจะบ่งบอกถึงคุณภาพในการรองรับ Bandwidth โดยจะแบ่งตามความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลว่ามีความเร็วมากน้อยแค่ไหน ส่วนมากแล้วจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
สายแลน Cat 5: สายแลนทองแดงที่มีความเร็วต่ำที่สุด ระดับการถ่ายโอนข้อมูลเร็วสูงสุดเพียง 100 Mbps ซึ่งในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว
สายแลน Cat 5e: สายแลนทองแดงเช่นเดียวกัน แต่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากรองรับ Bandwidth ตั้งแต่ 100 Mbps ไปจนถึง 1 Gbps ที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย สำหรับเครือข่าย CC-Link IE ก็มีการใช้สายแลนตัวนี้เช่นกัน จึงทำให้การรับข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้
สายแลน Cat 6: สายแลนทองแดง ที่มีการอัปความเร็วให้สูงสุดถึง 10 Tpbs Bandwidth th อยู่ที่ 250 MHz แต่ด้วยระดับความเร็วนี้ที่เกินความจำเป็น ผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ สายแลนประเภท UTP cat5e มากกว่า
สายแลน Cat 7: สายแลนทองแดง ที่มีระดับความเร็ว 10 GPS และมาพร้อมกับ Bandwidth th ที่มากกว่าประเภทที่ 3 ราวๆ 600 MHz
แบ่งตามการเข้าหัวของสาย LAN
ประเภทสุดท้ายที่เป็นการจัดแบ่งประเภทสายแลนตามหัวของสายแลน โดยควรเลือกหัวสายแลนที่เหมาะกับอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เพื่อให้มีความเร็วที่เสถียรภาพ และทำหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สาย LAN ที่ได้มาตรฐาน CC-Link IE เป็นแบบไหน?
ฉลากส่วนใหญ่บนสายแลนที่มักจะมีคำว่า CAT นั้นมาจากคำว่า CATegory ที่แปลว่า ประเภท ซึ่งประเภทที่นิยมใช้งานกันเป็นวงกว้างคือ CAT 5e และ CAT 6 ใครที่กำลังสงสัยว่า หัวสายแลน และลักษณะการใช้งานของ cat5 e กับ cat6 ต่างกันยังไง ไปติดตามเนื้อหาที่นำมาฝากกันได้เลย
CAT 5e
สายแลนประเภทนี้มีความนิยมสูงสุด มี 4 คู่สาย 8 เส้น ทำมาจากทองแดง สามารถบิดงอได้ อีกทั้งยังรองรับความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 1,000Mbps / 1Gbps ในระยะไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งด้วยระดับความเร็วนี้สามารถปรับใช้งานได้หลากหลาย และครอบคลุมทุกลักษณะการใช้งาน ที่สำคัญมาในราคาประหยัด เข้าถึงได้ง่าย เหมาะกับการเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร (Patch cord) ภายในสำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
CAT 6
สายแลน CAT 6 เป็นสายเชื่อมเคเบิลทอง 4 คู่ 8 เส้น ที่มี Bandwidth สูงกว่า CAT 5e รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Switch / Hub ทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงถึง 250 MHz ในขณะที่สายแลน CAT 5e ทำความเร็วได้ 100 MHz ตัวสายแลน CAT 6 นี้มีความยาวสูงสุดอยู่ที่ 100 เมตร ในช่วงความยาวของสายที่ 55 เมตร สามารถทำความเร็วสูงสุดคงที่ 10 Gbps อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อด้วยกันคือ RJ-45
ด้านราคาของสายแลนประเภทนี้สูงกว่า CAT 5e เหมาะกับการใช้งานในบ้าน หรือสำนักงาน หากให้แนะนำการใช้สายแลน CAT 5e ก็เพียงพอต่อทุกการใช้งานแล้ว โดยขอแนะนำ CAT5e ของ CC-Link IE ที่ได้มาตรฐานในการผลิต และสามารถทำงานได้เหนือชั้นทั้งในการรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็ว และทนทานต่อการใช้งาน หากผู้ใช้งานมีงบเหลือ ให้ทำการเพิ่ม Shield จะเป็นการดีกว่าการเพิ่ม CAT ให้มีระดับสูงขึ้น
ประเภทของ Shield ตัวช่วยลดสัญญาณรบกวนในโรงงานอุตสาหกรรม
ในกรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม และต้องการระบบการรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แนะนำว่าการใช้ CAT 5e นั้นก็มีความเหมาะสมแล้ว แต่แนะนำให้เพิ่มสาย Shield จะเสริมทั้งประสิทธิภาพในการโอนถ่ายข้อมูล และยังช่วยลดสัญญาณรบกวนได้อีกด้วย เหมาะกับการใช้งานในโรงงาน และสำนักงานที่มีสัญญาณรบกวนเยอะ
สำหรับใครที่ไม่เข้าใจว่าสาย Shield คืออะไร สายแลน ตั้งแต่ Cat5e, Cat6 และCat6a หรือที่สูงกว่านี้ สามารถแบ่งประเภทออกได้อีก 2 ประเภท คือ สาย UTP หรือ Unshielded Twisted Pair และ สาย STP หรือ Shielded Twisted Pair (สาย Shield ที่หลายคนเรียกติดปาก) เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาส่วนนี้ได้ดี จะพาทุกคนไปรู้จักกับตัวย่อที่จะพบเห็นกันได้อยู่บ่อยๆ ของสายประเภท UTP/STP
U: Unshielded คือ ไม่มีชิลด์ป้องกัน
F: Foil Shield คือ ชิลด์ฟลอยด์
S: Braided Shield คือ มีชิลด์ป้องกัน
TP: Twisted Pair คือ สายคู่บิดเกลียว
U/UTP
U/UTP หรือ Unshielded Twisted Pairs สายทองแดงเกลียว 4 คู่ มักใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครือข่าวตัวกลางอย่าง Network Switch, Hub หรือ Router เป็นต้น หัวเชื่อมของสายแลนประเภทนี้คือ RJ45 ลักษณะของสายแลนที่มีการบิดเป็นเกลียวนี้ช่วยทำให้ลดสัญญาณรบกวนได้ประมาณหนึ่ง มีราคาที่ย่อมเยา ไม่สูงมาก ทำให้นี่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีงบน้อย หรือต้องการใช้สายแลนชั่วคราว
U/FTP
U/FTP: Foiled with Each Pair Shielded ความน่าสนใจของสายแลนประเภทนี้คือมี Aluminum Foil ป้องกันแต่ละคู่สายอยู่ มีขนาดสายที่เล็กกว่า เนื่องจากไม่มี Filler ทำให้ไม่มีเปลือกหนาๆ เหมือนกันกับ U/UTP มักมีการใช้งานเมื่อต้องการเดินสายคู่กับสายไฟฟ้า เหมาะกับการใช้งานในสำนักงาน หรือโรงงาน เมื่อเปรียบเทียบกับสายแลนประเภท U/UTP ที่เป็นสายแลนทั่วไป สายแลนประเภท U/FTP มีความสามารถในการลดสัญญาณรบกวนได้ดีกว่ามาก ในราคาที่ไม่ไกลกันมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่สายแลนประเภทนี้จะได้รับความนิยมในวงกว้าง
F/UTP
F/UTP: Foiled with Unshielded Twisted Pairs มี Aluminum Foil ป้องกันโดยครอบคู่สายทั้งหมด เหมาะอย่างมากสำหรับการเดินสายคู่กับสายไฟฟ้าแรงสูง หรือเครื่องจักรไฟฟ้า เหมาะกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ที่ควรนำมาเชื่อมต่อกับสายแลนนี้ควรเป็น Shield ด้วยฟังก์ชันของสายประเภท F/UTP ทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง แต่ก็มาพร้อมกับคุณภาพของสายแลน และสัญญาณในการโอนถ่ายข้อมูลที่เหนือชั้นกว่า
F/FTP
F/FTP: Foiled with Foiled Twisted Pairs จุดสังเกตความแตกต่างระหว่าง F/FTP และ F/UTP คือ F/FTP จะมี Aluminum Foil ที่ปกป้องทั้งคู่สาย และครอบทั้งหมดไว้อีกที แต่ F/UTP จะมี Aluminum Foil ครอบทั้งหมดทุกคู่สายเพียงเท่านั้น หากต้องการความทนทาน และความปลอดภัยในการรับส่งสัญญาณระดับสูง ถือเป็นตัวเลือกที่ดูดีไม่น้อย ลักษณะการใช้งานที่มักมีการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ระดับการลดสัญญาณรบกวนสามารถทำงานได้ดีเท่ากับ F/UTP
S/FTP
S/FTP: Shielded with Foiled Twisted Pairs ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับ F/FTP เพราะมีชั้นฟอยล์ที่ปกป้องทั้งคู่สาย และครอบสายทั้งหมดไว้อีกชั้น เพียงแต่ชนิดของฟอยล์แตกต่างกันออกไป แต่ละคู่สายถูกปกป้องไว้ด้วย Aluminum Foil และสิ่งที่ครอบทั้งหมดไว้อีกทีคือ Tinned Copper Braid ที่มีลักษณะเป็นฟอยล์ที่ถูกถักทอขึ้นโดยเฉพาะ สิ่งที่ทำให้สายแลนประเภทนี้โดดเด่นเป็นพิเศษคือ ป้องกันการรบกวนของสัญญาณได้ดีมาก และทนทานต่อการใช้งานสูง สามารถหักงอได้อิสระมากกว่าประเภทอื่นๆ เพราะ Braid Foil มีความยืดหยุ่น และแข็งแรงมากกว่าฟอยล์ทั่วไป
SF/FTP
SF/FTP: Shielded and Foiled with Foiled Twisted Pairs สายแลนประเภทสุดท้าย ที่คู่สายทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มด้วยแผ่น Aluminum Foil และครอบอีกชั้นด้วย Tinned Copper Braid จัดได้ว่าเป็นสายแลนที่แข็งแรง ทนทาน และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถหักงอเพื่อให้เข้ากับมุมโต๊ะ และห้องได้แบบไม่ต้องกังวลว่าจะชำรุด ด้านการป้องกันคลื่นรบกวนทำได้ดีเท่ากันกับ S/FTP แต่มีราคาที่สูงกว่าเล็กน้อย สิ่งที่ได้มาเพิ่มเติมจาก SF/FTP คือความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานได้ระยะยาวนั้นเอง
ประโยชน์จากการใช้สาย LAN มีอะไรบ้าง?
การใช้สายแลนมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง ถ้าทุกคนอยากรู้แล้วว่านอกจากสายแลนจะช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลได้แล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านใดอีก ไปติดตามกันต่อได้เลย
ใช้งานอุปกรณ์ได้หลากหลาย
จากคุณสมบัติของสายแลนที่ช่วยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ได้ในระยะไกลมากขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การใช้สาย LAN ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หรือเคลื่อนจักรต่างๆ ด้วยสาย LAN ที่มีระยะความยาวตามที่ต้องการเพื่อการรับส่งข้อมูลต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สะดวกสบาย และรวดเร็ว
นอกจากสาย LAN ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยในการส่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย เช่น การใช้สาย LAN ที่สามารถรองรับค่า Bandwidth สูง จึงช่วยให้สามารถรับส่งข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัยอีกด้วย
ประหยัดค่าใช้จ่าย
การตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นี่เป็นผลดีโดยตรงต่อผู้ประกอบการกันเลยก็ว่าได้ เพราะผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเสียค่าเดินสายไฟ หรือการติดตั้งสายไฟใหม่ เป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินออกได้ โดยเฉพาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ช่วยในการลดต้นทุนด้านการ Wiring ออกไป และเลือกใช้สายแลนแทน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย และรวดเร็ว
ง่ายต่อการควบคุม
ด้านการจัดการ หรือควบคุมเครือข่ายก็เป็นเรื่องง่าย เพราะสายแลนเป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้บุคคลที่รับผิดชอบในการดูแล และควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจัดการคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทที่คนในองค์กรใช้งาน ได้ผ่านคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว สะดวกต่อการดูแล และคล่องตัวในการจัดการอย่างมาก
จากข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าสายแลนเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการเป็นตัวกลางระหว่างองค์กร ทั้งในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครือข่าย การเลือกใช้สายแลนให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากสายแลนแต่ละประเภทก็มีความสามารถ และคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปแต่ละประเภท สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อนเลยก็คือ ลักษณะงานของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถเลือกสายแลนที่เหมาะที่สุด เพื่อให้ได้ทั้งความเร็ว, ความทนทาน และประสิทธิภาพของการรับ-ส่งข้อมูลที่ลงตัวมากที่สุด
บทความแนะนำ
- เว็บไซต์สมาชิก
CC-Link Partner
Association (CLPA)