• Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่

CC-Link CLPA

CC-Link Partner Association
Thailand

แผงผังเว็บไซต์

เมนู

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • คำถามที่พบบ่อย
    /ข้อมูลติดต่อ

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • Network
    เครือข่ายแบบ Ethernet
    CC-Link IE TSN
    CC-Link IE Control Network
    CC-Link IE Field Network
    CC-Link IE Field Network Basic
    เครือข่ายแบบ Serial
    CC-Link
    CC-Link Safety
    CC-Link/LT
    โปรโตคอลทั่วไป
    SLMP
  • ฟังก์ชัน
    Safety
    Motion
  • โซลูชัน
    เครือข่ายไร้สาย
    Security
  • โปรไฟล์
    CSP+, CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์

  • ค้นหาตามหมวดหมู่หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อผลิตภัณฑ์หน้าต่างใหม่
  • ค้นหาตามชื่อบริษัทหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ล่าสุดหน้าต่างใหม่
  • ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตาม SLMPหน้าต่างใหม่
  • Electronic Partner Product Catalog(Offline version)ZIP

การพัฒนา

  • กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ผังกระบวนการสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เข้ากันได้กับ CC-Link IE TSN
  • การทดสอบความสอดคล้อง
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบ
  • CC-Link IE TSN Contracted Development Manufacturer
    Coming soon
  • Introducing Development Toolหน้าต่างใหม่

เกี่ยวกับ CLPA

  • กิจกรรม
  • ประวัติ
  • องค์กร
  • การรับสมาชิก
  • Partnersหน้าต่างใหม่
  • มาตรฐานสากล
  • การเติบโตของ CLPA

close

CLOSE

  • หน้าแรก
  • เทคโนโลยีเครือข่าย
  • ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนา
  • เกี่ยวกับ CLPA
  • คำถามที่พบบ่อย
    /ข้อมูลติดต่อ

CLOSE

  1. หน้าแรก
  2. เทคโนโลยีเครือข่าย
  3. บทความที่น่าสนใจ
  4. ทำความรู้จักกับ AI ที่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรม

บทความที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักกับ AI ที่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เราจึงได้เห็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์บางอย่าง เช่น การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence (AI) มาใช้งานเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การแพทย์ การโทรคมนาคมหรือระบบเครือข่าย ซึ่งต่างก็เริ่มมีการนำ AI มาใช้แล้วทั้งสิ้น แสดงให้เห็นว่าการทำความรู้จักกับเทคโนโลยี AI นั้นมีความจำเป็นและเริ่มมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจหรือการดำเนินการในด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น 


AI คืออะไร?

AI หรือ (Artificial Intelligence) คือระบบปัญญาประดิษฐ์ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งในปัจจุบัน AI ที่เรามีใช้อยู่จริงก็จะมี 3 ประเภทด้วยกันคือ 

  • Reactive AI เป็น AI อย่าง Deep Blue ที่สามารถเล่นหมากรุกชนะมนุษย์ที่เล่นได้เก่งที่สุดในโลก AI ประเภทนี้จะสามารถอ่านสถานการณ์ปัจจุบันแล้วตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แต่จะไม่มีการเรียนรู้หรือความจำในอดีต AI ประเภทนี้พบได้ในระบบกรอง Spam ในอีเมลหรือระบบแนะนำ Watch list ของ Netflix เมื่อพูดถึงการประยุกต์ใช้ AI ประเภทนี้ในด้านอุตสาหกรรมก็สามารถอยู่ในรูปแบบได้หลากหลาย เช่น ระบบ Data Capture ที่ประมวลข้อมูลอย่างรวดเร็ว พบได้ทั่วไปในธุรกิจการเงิน หรือประกันภัย เป็นต้น

  • Limited Memory AI เหมือนกับ Reactive AI แต่ต่างกันที่มีความทรงจำและความสามารถในการนำอดีตมาช่วยประมวลผลได้ ในปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ต่างใช้ AI ประเภทนี้กันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรถที่ไร้คนขับ หรือแชทบอท AI ประเภทนี้ก็จะพบได้ในงานอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การโทรคมนาคม อื่นๆ อีกมากมาย 

  • Theory of Mind AI เป็นเรื่องในทฤษฎีมากกว่า เพราะยังคงถูกพัฒนาอยู่ โดย AI ประเภทนี้จะสามารถตอบสนองสื่อสารกับมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาด สามารถมีไอเดียเกี่ยวกับโลกและคนได้ ตัวอย่างของ AI ประเภทนี้คือ Sophia ที่ถูกพัฒนาโดย Hanson Robotics ที่มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

นอกจาก 3 ประเภทก่อนหน้าแล้วยังมีอีกหนึ่งประเภทที่ยังมีเพียงในเชิงทฤษฎีเท่านั้นคือ Self-Aware AI ที่จะมีความอยาก ความต้องการเป็นของตัวเอง แต่เรายังไม่มีอุปกรณ์หรือโปรแกรมใดๆ ที่สามารถทำ AI ประเภทนี้ขึ้นมาได้


ทำไม AI ถึงประยุกต์ใช้กับด้านอุตสาหกรรมได้?

จุดเริ่มต้นของการนำ AI มาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะต้องเริ่มต้นจากการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งาน เนื่องจากการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Controllers, Sensors, Robotics และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นเมื่อมีการทำงานเกิดขึ้นจะสามารถรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลได้ เมื่อการนำระบบอัตโนมัติเริ่มเป็นที่นิยมและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเท่ากับว่าปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ในจุดนี้เองที่ AI จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมด้วยความสามารถของ AI ที่สามารถเรียนรู้ รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้โดยอ้างอิงจากชุดข้อมูลที่รวบรวมได้จากการทำงานก่อนหน้านี้ จึงทำให้ AI เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย โดยจุดประสงค์ของการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรมนั้นก็มีได้หลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ป้องกันโอกาสเกิดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วยการอาศัยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติแทน เป็นต้น


ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ AI ในด้านอุตสาหกรรม

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าแล้วว่า การประยุกต์ใช้ AI ในด้านอุตสาหกรรมมีประโยชน์หลากหลายด้าน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแบบไหน ก็สามารถนำ AI ที่เหมาะกับงานประเภทนั้นมาใช้กับระบบของตัวเองได้และนำไปสู่ประโยชน์เหล่านี้ได้เหมือนกัน

ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

Artificial intelligence (AI) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้จากชุดข้อมูลที่ได้จากการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความแม่นยำสูง จึงส่งผลให้สามารถรับมือกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำงานหรือการผลิตได้อย่างมหาศาล

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ในงานบางประเภท เช่น งานที่เป็น Routine อย่างงานเก็บข้อมูล AI ก็สามารถเข้ามาช่วยมนุษย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแทนที่มนุษย์เสมอไป เช่น ในการแพทย์ AI สามารถช่วยนำข้อมูลการแพทย์และการตรวจค่าต่างๆ มาเทียบกันโดยอัตโนมัติแล้ว แพทย์จึงนำข้อมูลนั้นมาประกอบการวินิจฉัยของแพทย์อีกที ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของงานมากขึ้น 

บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การประยุกต์ใช้ AI ในด้านอุตสาหกรรมไม่เพียงเกิดขึ้นในโรงงาน ในสมัยนี้ธุรกิจหลายๆ แห่งต่างก็มีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามได้ ซึ่ง AI สามารถทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถทำงานได้ทั้งวันทั้งคืน และอ่านความต้องการของลูกค้าพร้อมแนะนำสินค้า ข้อมูล หรือคำถามเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้

บันทึก ตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติ

การประยุกต์ใช้ AI ในด้านอุตสาหกรรมหรือด้านอื่นๆ สามารถช่วยจดบันทึกข้อมูลได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งเมื่อมีข้อมูลแล้ว AI ก็ยังสามารถประมวลผลข้อมูลได้ในระดับที่ไม่มีมนุษย์คนใดหวังจะทำได้ ทั้งในเชิงความเร็วและในเชิงปริมาณ ดังนั้นเมื่อใช้ AI มาช่วยด้านนี้ก็จะไม่ต้องเสียแรงงานคนไปกับการบันทึกและประมวลผลข้อมูลอีกต่อไป

บำรุงรักษา และตรวจจับข้อบกพร่องได้อย่างแม่นยำ

เช่นเดียวกับที่กล่าวไปแล้วว่า AI สามารถประมวลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจจับข้อบกพร่องเองก็มีความแม่นยำ และเมื่อตรวจจับความผิดพลาดหรือสิ่งผิดปกติขึ้น AI ก็สามารถแจ้งหรือเริ่มดำเนินการป้องกันได้ ก่อนที่ระบบ เครื่องจักร หรือเครือข่ายจะล้มเหลวไป 


CC-link IE เครือข่ายที่รองรับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าการนำ AI มาใช้ในงานอุตสาหกรรมนั้นมีประโยชน์อย่างมาก เช่น สามารถประยุกต์ใช้กับการสื่อสารของเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเอกสาร ข้อมูลอัตโนมัติ หรือช่วยในการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักรโดยไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์มาเป็นสื่อกลาง การจะใช้กับเครือข่าย CC-Link IE เองก็สามารถทำได้อย่างเช่น CC-Link IE TSN ที่เป็นเครือข่ายรองรับการทำงานที่ซับซ้อน ช่วยป้อนข้อมูลให้ AI ได้ในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็วด้วย Bandwidth ระดับ Gigabit ในขณะที่ค่าความล่าช้าต่ำ  (Latency) จะช่วยให้สามารถทำงานได้แบบ Real-time ทั้งยังรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบวงแหวน (Ring), แบบเส้นตรง (Line) แบบดาว (Star) โดยสามารถผสมผสานการเชื่อมต่อได้ทุกรูปแบบ


สิ่งที่เคยคาดว่าจะมีในอนาคตนั้นตอนนี้ก็มาถึงแล้ว บทบาทของ AI ต่ออุตสาหกรรมจะสำคัญมากขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น AI ในอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ หรือใดๆ ก็ตาม จะเห็นได้ว่า AI เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและทรงพลังในอุตสาหกรรมอย่างมาก การประยุกต์ใช้ AI ด้านอุตสาหกรรมจึงเป็นวิธีที่จะเดินตามทันโลกนี้ที่คุ้มค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษา

บทความก่อนหน้า หน้าหลักบทความ บทความถัดไป

บทความแนะนำ

«
Industrial Networking คืออะไร และแตกต่างกับที่ใช้งานทั่วไปอย่างไร ?
ทำความรู้จักกับ 1st Gen ของ CC-Link ได้แก่ CC-Link, CC-Link LT และ CC-Link Safety
Industry 4.0 (Smart Factory) คืออะไร? แตกต่างจาก Industry 3.0 อย่างไร?
Industrial Networking มีบทบาทอย่างไรในการเป็น Smart Factory ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
Preventive Maintenance VS. Predictive Maintenance
5 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Industrial Internet of Things (IIoT)
5 ข้อดีของเครือข่าย CC-Link IE TSN ที่ช่วยให้ใช้งาน IIoT ได้ง่ายยิ่งขึ้น
สายใยแก้ว อีกหนึ่งตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานในโรงงาน
Network Topology คืออะไร มาไขข้อข้องใจ ไม่ยากอย่างที่กลัว
Factory Automation คืออะไร ทำไมโรงงานอัตโนมัติถึงสำคัญ
Smart Factory คือ? มายกระดับโรงงานอุตสาหกรรมด้วย Industrial IoT
สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า ปัญหาคู่บ้านของการสื่อสารในอุตสาหกรรม
ชวนรู้จักกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 6 ประเภทสุดฮิตในโรงงาน
ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มความแม่นยำในการทำงาน
Fieldbus สำหรับการทำงานของระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
Ethernet เทคโนโลยีเครือข่ายการเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
Cobot คืออะไร มีอะไรบ้าง ? ต่างจาก Robot ยังไง
ทำความรู้จักกับระบบ PLC ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อยุคอุตสาหกรรม 4.0
Proactive Maintenance คืออะไร
DCS ระบบควบคุมแสนอัจฉริยะที่ควรมีในโรงงานอุตสาหกรรม
สาย LAN มีกี่ประเภท ?
SCADA System คืออะไร
ไขข้อสงสัย TPM (Total Productive Maintenance) คืออะไร ?
»

เทคโนโลยีเครือข่าย

  • เครือข่าย

    • Ethernet based network

      • CC-Link IE TSN
      • CC-Link IE Control Network
      • CC-Link IE Field Network
      • CC-Link IE Field Network Basic
    • Serial based network

      • CC-Link
      • CC-Link Safety
      • CC-Link L/T
    • Common Protocol

      • SLMP
  • ฟังก์ชัน

    • Safety Communication
    • Motion Control
  • โซลูชัน

    • เครือข่ายไร้สาย
    • Security
  • โปรไฟล์

    • CSP+/CSP+ for Machine
  • ตัวอย่างการใช้งาน
  • บทความที่น่าสนใจ
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • ดาวน์โหลด
  • ข้อมูลติดต่อ
เว็บไซต์สมาชิก
CC-Link Partner
Association (CLPA)
CC-Link CLPA

เข้าสู่ระบบหน้าต่างใหม่

  • Global Website (English)หน้าต่างใหม่
  • Worldwide Officesหน้าต่างใหม่
  • Site Map
  • เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ( ภาษาอังกฤษหน้าต่างใหม่ )
© CC-Link Partner Association

ไปที่บนสุดของหน้า